เสื้อยืดสกรีนระบบDTG สะดวก สีสด พิมพ์ง่าย ออกแบบได้เอง ลองเลยสิจ๊ะ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ทำความรู้จักDTG

DTG custom T-shirt

เสื้อยืดสกรีนDTG


DTG คืออะไร?

DTG นั้นย่อมาจาก Direct To Garment 

คือวิวัฒนาการของการทำงานสกรีนให้เข้ากับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิต้อล โดยใช้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นทำงานร่วมกับโปรแกรมการออกแบบ
สามารถพิมพ์แบบที่ต้องการลงบนพื้นผิวโดยตรงได้เลย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาเป็นDTGนี้เราอาจจะคุ้นๆกับการพิมพ์ภาพออกมาก่อนแล้วนำมารีดด้วยความร้อนให้ภาพนั้นติดบนเสื้อกันมาบ้าง

นอกจากDTGแล้วยังมี 

DTS : Direct To Screen 

ที่สามารถพิมพ์บล๊อกสกรีนออกมาพร้อมให้เอาไปปาดสีสกรีนได้เลยโดยไม่ต้องมานั่งปาดกาวอัด เล็งภาพ ยิงไฟ ถ่ายบล๊อก กันให้เมื่อย
แม้แต่สีที่ใช้ในงานสกรีนเองก็มีการพัฒนาสูตรสีหรือเทคนิควิธีใช้สารกัดสีเสื้อ(Resist-Discharge)ที่เป็นมิตรไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม




ประวัติย่อของการสกรีน


     งานสกรีนนั้นก็คือ

การใช้บล๊อกสกรีนที่พัฒนามาจากแม่พิมพ์SilkScreenนั่นเอง 
โดยผ้าสกรีนถูกพัฒนาเป็นไนล่อน โพลีเอสเต้อร์ หรือ เส้นใยโลหะให้มีความละเอียดและทนทานขึ้น
ในขณะที่กรอบ หรือ เฟรมที่ขึงผ้าสกรีนให้ตึงนั้นนิยมใช้เป็น ไม้ และ โลหะ
แลด้วยวิถีการพิมพ์แบบฉลุลาย ที่เป็นการกั้นพื้นที่ให้หมึกพิมพ์ไหลผ่านลงในพื้นที่ที่ต้องการนั้น
การพิมพ์สกรีนก็เลยสืบสาวราวเรื่องได้ว่า มีมานานนม เริ่มต้นมีบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์
ราวๆปีศักราช 960 - 1279 (C.E.) ในช่วงราชวงศ์ ซ่ง (SONG) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กันเลยนั่น
(ทางฝั่งยุโรปเริ่มรู้จักเทคกะนิคนี้ราวๆปีศตวรรษที่18)

ประเภทของแม่พิมพ์


 


        ความเดิมจากตอนที่แล้ว.....


สี่หัวข้อต่อจากนี้ไปเราจะมาแบ่งประเภทของแม่พิมพ์กัน



เรามาเริ่มกันที่

๑.พิมพ์นูน (RELIEF PROCESS) 

เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าทีทำให้นูนขึ้นมา
ของแม่พิมพ์ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมา
เป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้(WOOD-CUT) ภาพพิมพ์แกะยาง
(LINO-CUT) ตรายาง (RUBBER STAMP) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ

อารัมภบท


           
เสื้อยืดสกรีนDTG
      

       ลวดลายต่างๆที่อยู่บนเสื้อยืดตัวโปรดของเรานั้น เกิดจากการพิมพ์ เส้นสีต่างๆของหมึกพิมพ์ลงบนเส้นใยผืนผ้า ก่อเป็นผลงานสร้างสรรค์ตอบสนองจินตนาการ และ รสนิยมของผู้สวมใส่