ความเดิมจากตอนที่แล้ว.....
สี่หัวข้อต่อจากนี้ไปเราจะมาแบ่งประเภทของแม่พิมพ์กัน
เรามาเริ่มกันที่
๑.พิมพ์นูน (RELIEF PROCESS)
เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าทีทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมา
เป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้(WOOD-CUT) ภาพพิมพ์แกะยาง
(LINO-CUT) ตรายาง (RUBBER STAMP) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
๒.พิมพ์ร่องลึก (INTAGLIO PROCESS)
เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องทีทำให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง และ
ทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัดซึง เรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกพัฒนาขึ้น โดย
ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ
พระคัมภีร์ แผนที่เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบตัร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานทีเป็นศิลปะ และธนบัตร
๓.พิมพ์พื้นราบ (PLANER PROCESS)
เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ชนิดนี้
ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน (LITHOGRAPH) การพิมพ์ออฟเซท (OFFSET) ภาพพิมพ์กระดาษ
(PAPER-CUT) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว (MONOPRINT)
๔.พิมพ์ฉลุ (STENCIL PROCESS)
เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลังเป็นการพิมพ์ชนิดเดียว ที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย
เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ (STENCIL) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (SILK
SCREEN) การพิมพ์อัดสำเนา (RONEO) เป็นต้น
อยากค้นควัาเพิ่มเติมมั๊ยล่ะ
ไปดูต่อในวิกีพีเดียสิ!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น